ดร.ทัดทอง พราหมณี หัวหน้าโครงการการจัดการการเรียนรู้โรงเรียนเกษตรกร (THT Farmer Academy) ตามแนวเกษตรทฤษฎีใหม่ฯ (สนับสนุนโดยสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, วช.) และผู้ประสานงานเพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก ร่วมบรรยายและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อให้คำแนะนำในการจัดทำแผนงานร่วมกับคณะทำงานของจังหวัดจันทบุรี เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2568 ณ จังหวัดจันทบุรี ในโอกาสที่จังหวัดจันทบุรีมีเป้าหมายที่จะเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดจันทบุรีในด้านต่างๆ ได้แก่ ความมั่นคงทางอาหาร อาหารปลอดภัย และการยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร ชาวประมง และประชาชนในจังหวัดจันทบุรี ทั้งในด้านสุขภาพกาย รายได้ รวมถึงคุณภาพของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ทั้งนี้ จังหวัดเพชรบุรีได้รับการประกาศให้เป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของยูเนสโก (UNESCO Creative City of Gastronomy) เมื่อปี 2564 นำมาซึ่งประโยชน์ต่อชุมชนต่างๆ ในจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมความตระหนักเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นแหล่งวัตถุดิบ การเกษคร การถ่ายทอดมรดกด้านอาหาร การสืบสานและต่อยอดวัฒนธรรม การประยุกต์ความคิดสร้างสรรค์ในวิถีชีวิตปัจจุบันที่ไม่หลงลืมรากฐานเดิม ตลอดจนการเรียนรู้ การท่องเที่ยว และการพัฒนาที่ยั่งยืนในมิติอื่นๆ
Dr. Thadtong Bhrammanee, Head of the Farmer Academy Learning Management Project based on the New Theory Agriculture approach (THT Farmer Academy) and Coordinator for Phetchaburi, UNESCO Creative City of Gastronomy, participated in a knowledge-sharing session and engaged in discussions to provide guidance on action plan development with Chanthaburi Province’s working group on January 12, 2025. This initiative aligns with Chanthaburi's ambition to join the Creative Cities Network, supporting the province's priorities in food security, safe food production, and enhancing the quality of life for farmers, fishers, and residents. These priorities focus on physical health, income generation, and the preservation of the natural environment.
Phetchaburi Province, designated as a UNESCO Creative City of Gastronomy in 2021, has brought significant benefits to its communities. This recognition has heightened awareness of natural resources as vital raw material sources, promoted the preservation and transmission of culinary heritage, and supported the revitalization of cultural traditions. Moreover, it has integrated creative practices into modern lifestyles while respecting historical foundations, fostering learning, tourism, and sustainable development across various dimensions
เพชรบุรีเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร | Phetchaburi, UNESCO Creative City of Gastronomy
ทองหทัยห้องปฎิบัติการสังคม เกษตรอินทรีย์ เกษตรทฤษฎีใหม่ จิตอาสา